วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วรรณกรรมเด็กตัดสินกันที่ไหน ? :


อะไรคือวรรณกรรมเด็ก ?

......ความเป็นวรรณกรรมเด็กหรือวรรณกรรมเยาวชนมีความหลากหลายในประวัติวรรณกรรมวิจารณ์ เราอาจมองแนวทางการแบ่งดังกล่าวได้เป็นสองทาง แนวทางแรกเป็นไปในแบบความคิดเห็นของ John Rowe Townsend ซึ่งเป็นนักวิจารณ์สมัยใหม่ :
"คือ การมองว่า การพยายามสร้างความหมายเฉพาะของวรรณกรรมเด็ก แยกออกจากวรรณกรรมทั่วไปนั้น เป็นเพียงสิ่งที่สร้างขึ้น และเป็นการแบ่งแยกที่ไม่จำเป็น นี่เป็นความคิดเห็นที่เน้นแนวปฏิบัติ การนำไปใช้ ทั้งนี้เนื่องจากวรรณกรรมไม่ว่าวรรณกรรมเด็กหรือไม่ล้วนแล้วแต่สามารถอ่านโดยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ สามารถให้ประโยชน์ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่"......
.....ในอีกด้านหนึ่ง การแบ่งแยกวรรณกรรมเด็กออกจากวรรณกรรมทั่วไปในฐานะที่เป็น Literary Genre อันหนึ่งอาจเป็นสิ่งที่น่าจะทำ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการศึกษา และในฐานะที่เป็นประเภทของวรรณกรรมอย่างหนึ่ง 
.....การให้ลักษณะของวรรณกรรมเด็กมีทั้งในด้านของรูปแบบหรือกลวิธีการเขียน และเนื้อหาของเรื่อง  เรื่องของกลวิธีการเขียนกับเนื้อหาของเรื่องโดยทั่วไปแล้วเป็นสิ่งที่ยากที่จะแยกออกจากกัน ทั้งนี้เนื่องจากกลวิธีการเขียนมีส่วนในการแสดงออกซึ่งเนื้อหาหรือแก่นเรื่องด้วย โดยเฉพาะวรรณกรรมเด็ก กลวิธีในการเขียนนั้นเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้เด็กเข้าถึงเนื้อหา หรือทำให้เด็กสนใจได้มากเพียงไหน ....
คำถามที่เกิดขึ้นคือ>> 
           ทำไม?..วรรณกรรมเด็กจึงควรจะ หรือมักจะมีลักษณะของเนื้อหาเช่นนี้ ? ....ในเมื่อโดยปกติทั่วไปเรามักจะบอกว่า วรรณกรรมที่ดีไม่จำเป็นต้องมี "สูตรสำเร็จ" เป็นข้อๆ และลักษณะที่เป็นสูตรสำเร็จดังกล่าวจะปรากฏในวรรณกรรมหลีกหนีเสียมากกว่า แต่วรรณกรรมเด็กทีเราสามารถศึกษากันได้มากมาย กลับมีสูตรที่รวบรวมเป็นลักษณะได้ และได้รับการยอมรับว่าเป็นวรรณกรรมเด็กที่ดี เป็นหลักเกณฑ์ที่แตกต่างไปจากวรรณกรรมทั่วไป คำถามต่อมาคือ>>  
            ทำไม?วรรณกรรมเด็กจึงแตกต่างจากวรรณกรรมทั่วไปเช่นนี้ ?.... คำตอบน่าจะอยู่ที่เรื่องของ ความรู้สึกรับผิดชอบของผู้สร้างงาน นั่นก็คือ "ผู้ใหญ่" ในความคิดที่ว่า ควรจะสอนสั่งเด็กให้เติบโตขึ้นมาเป็นคนที่ดี เพราะ "เด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า" และสังคมจะดีเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับในสังคม การสอนเด็กในสิ่งที่ดีในวันนี้คือการเตรียมตัวให้เด็กคนนั้นเป็นผู้ใหญ่ที่ดี มีชีวิตอย่างมีความสุขได้ในสังคม ในขณะเดียวกันก็มอบความดีที่ตนมีให้แก่สังคมเพื่อให้เกิดความสงบสุข
ดังนั้น>>
          เราอาจบอกได้ว่า ในที่นี้ วรรณกรรมเด็ก...กลายเป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่ผู้ใหญ่ใช้ในการสื่อสารกับเด็ก เพื่อสร้างเด็กให้เติบโตขึ้นเป็นบุคคลที่เหมาะสมกับสังคม หรือสามารถมีชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข เราอาจจะบอกได้อีกว่า ลักษณะดังกล่าวนี้มีความแตกต่างกันไปในรายละเอียดในแต่ละสังคม และน่าจะมีความเข้มข้นมากกว่าในสังคมตะวันออก ทั้งนี้เพราะพื้นฐานวัฒนธรรมในสังคมตะวันออกมีเรื่องของการเคารพผู้อาวุโสมากกว่า วิธีการที่คนตะวันออกใช้สั่งสอนเด็กก็แตกต่างไปจากคนตะวันตก ซึ่งไม่สามารถพิสูจน์ในข้อนี้ได้ เนื่องจากไม่ได้นำวรรณกรรมเด็กในสังคมตะวันตกมาเปรียบเทียบ และไม่ได้กล่าวถึงวรรณกรรมเด็กในสังคมตะวันออกอื่นๆ นอกไปจากในสังคมไทยเอง อย่างไรก็ดีเราอาจมองเห็นลักษณะดังกล่าวได้บ้างจากการพิจารณาวรรณกรรมเยาวชนของไทย 4 เรื่อง ที่เป็นวรรณกรรมที่บ่งบอกถึงอุดมคติทางด้านสังคมให้แก่เด็กที่วรรณกรรมหนึ่ง
นั้นก็คือ

 "เกิดเป็นหมอ , ปอเนาะที่รัก , โรงเรียนในภู , ครูป่าจากป่าใต้"  

เรื่องราวเนื้อหาในแต่ล่ะเรื่องจะเป็นยังไงและจะสะท้อนถึงสังคมแบบไหนในวรรณกรรมเหล่านี้ติดตามสาระดีๆผ่านวรรณกรรมได้ในโพสหน้าน่ะค่ะ ^^

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น